อยากลดน้ำตาล แต่อดหวานไม่ได้ เลือกสารให้ความหวานแทนน้ำตาลตัวไหนที่ไม่ทำลายสุขภาพ

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล
สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (sweetener)

ค่อนข้างเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ที่รักสุขภาพ รวมถึงผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก

โดยในปัจจุบันการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลนั้นไม่ได้จำกัดอยู่ในหมู่ผู้ที่รักสุขภาพเพียงเท่านั้น

แต่แพร่หลายมากขึ้น สังเกตได้จากการเติมสารให้ความหวานที่ไม่ใช่น้ำตาลลงในเครื่องดื่มยี่ห้อดังต่าง ๆ
รวมถึงร้านเครื่องดื่มทั่วไป ตลอดจนร้านเบเกอรี่และร้านขนมหวานที่มักผุดเมนูไร้น้ำตาลมาเพื่อดึงดูดลูกค้าหลากหลายกลุ่ม

เพื่อน ๆ เคยสงสัยไหมว่า ทำไมจึงมีการคิดค้นสารต่าง ๆ มาเพื่อให้ความหวานทดแทนความหวานของน้ำตาล

วันนี้เป็ดฟินิกซ์จึงได้ทำการรวบรวมประโยชน์ – โทษของสารแต่ละตัว เพื่อเป็นการประกอบการตัดสินใจให้กับเพื่อน ๆ ในการเลือกบริโภคในครั้งต่อไป

มารู้จักสารความหวานแทนน้ำตาลกันเถอะ

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล คือ อะไร

พี่ปินิกซ์พาเพื่อน ๆ ไปดูปินิกซ์ขออธิบายแบบนี้

สารความหวานแทนน้ำตาล เป็นสารที่มีทั้งแบบสังเคราะห์ขึ้นมาและสกัดมาจากธรรมชาติ
โดยมีคุณสมบัติให้ความหวาน แต่มักจะไม่มีคุณค่าทางโภชนาการเท่าใดนัก มีทั้งชนิดที่ให้พลังงาน
(แต่ให้พลังงานต่ำกว่าน้ำตาลมาก) และไม่ให้พลังงานเลย

แม้ว่าสารเหล่านี้จะไม่ให้คุณค่าทางโภชนาการแต่บางชนิดกลับมีประโยชน์ในด้านการแพทย์
เป็นอย่างมากโดยเฉพาะกับผู้ป่วยเบาหวาน รวมถึงเป็นเครื่องปรุงอาหารสำหรับผู้ที่ลดน้ำหนัก
และเป็นโรคอ้วนอีกด้วย

สารความหวานแทนน้ำตาลมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น

แอสปาร์เทม

แอสปาร์แตม

ชนิดนี้ให้ความหวานประมาณ 160 – 220 เท่าของน้ำตาลทราย
ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่ /กรัม

ได้รับอนุญาตจากองค์ FDA ของสหรัฐอเมริกาให้สามารถใช้เป็นสารให้ความหวานได้ เป็นชนิดที่ยอดนิยมที่สุด คือประมาณ 75 % ของสารให้ความหวานแทนน้ำตาลทั้งหมด ด้วยคุณสมบัติที่ให้รสชาติที่ใกล้เคียงกับน้ำตาลทรายมากที่สุด จึงนิยมนำไปใช้ในอุตสาหกรรมยา เครื่องดื่ม เป็นต้น

แต่ด้วยข้อจำกัดที่สารตัวนี้ไม่ทนความร้อน จึงไม่สามารถนำไปประกอบอาหารรวมทั้งนำไปทำเบเกอรี่หรือขนมต่าง ๆ ได้

เพราะถ้าโดนความร้อน แอสปาร์เทมจะสลายตัวและส่งผลให้รสชาติของอาหารเปลี่ยนไป นอกจากนี้หากใส่เยอะจะให้รสชาติขม

ข้อควรระวัง ผู้ป่วยเฟนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) ห้ามรับประทานสารชนิดนี้ เพราะแอสปาร์เทม ประกอบไปด้วยกรดอะมิโนที่มีชื่อว่าฟีนิลอะลานีน (phenylalanine) ถ้าทานมาก ๆ จะเกิดการสะสมของฟีนิลอะลานีนและเกิดอันตรายได้ ทั้งยังมีรายงานวิจัยการพบการก่อตัวของโรคมะเร็งในหนูทดลอง

ทำให้ผลิตภัณฑ์บางยี่ห้อต้องออกมาบอกว่า สินค้าของตนไร้สารแอสปาร์เทม

ซูคราโลส
ซูราโครส

ชนิดนี้ให้ความหวานประมาณ 600 เท่าของน้ำตาลทราย ไม่ให้พลังงาน

ได้รับอนุญาตจากองค์ FDA ของสหรัฐอเมริกาให้สามารถใช้เป็นสารให้ความหวานได้เช่นกัน มีรสชาติคล้ายน้ำตาลและไม่ขม ที่สำคัญสามารถทนต่อความร้อน จึงนิยมนำมาทำอาหารที่ต้องผ่านการต้ม อบ นึ่งที่ผ่านความร้อน และเนื่องจากสารตัวนี้ไม่ให้พลังงานจึงเหมาะสมกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ผู้ป่วยเบาหวานและทุกคนที่ต้องการเลี่ยงน้ำตาล ที่สำคัญไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดหรือระดับอินซูลิน

แต่เนื่องจากสารตัวนี้ยังค่อนข้างใหม่ ทำให้การศึกษาและงานวิจัยเกี่ยวกับซูคราโลสจึงยังน้อยอยู่ ทำให้อาจยังไม่ทราบผลข้างเคียงที่จะตามมาจากการบริโภคเป็นระยะเวลานาน

ข้อควรระวัง  ซูราโลสมีโอกาสส่งผลเกิดภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำได้ (เป็ดฟินิกซ์ขออธิบายเพิ่มเติม ว่าน้ำตาลตัวชนิดนี้มี คลอไรด์ เป็นส่วนประกอบ ซึ่งคลอไรด์ตัวนี้สามารถไปแทนที่ไอโอดีนในกระบวนการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ จึงส่งผลต่อภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำได้)

แอลกอฮอล์ของน้ำตาล (Sugar alcohol)
ผลไม้

เป็นสารที่สกัดมาจากธรรมชาติ ได้จากพืช ผักและผลไม้ เช่น พืชตระกูลเบอรี่ เป็นต้น
แอลกอฮอล์ของน้ำตาลมีหลายชนิดด้วยกัน

  • ซอร์บิทอล (Sorbitol)  ให้ความหวานประมาณ 60% ของน้ำตาลทราย
    ให้พลังงานประมาณ 2.6 กิโลแคลอรี่/กรัม

    มักนำมาใส่ในเยลลี่ แยม และยาแก้ไอ
  • อิริทริทอล (Erythritol) ให้ความหวานประมาณ70% ของน้ำตาลทราย
    ให้พลังงานเท่ากับ 0.2 กิโลแคลอรี่/กรัม

    มักนำมาเพิ่มความหวานในหมากฝรั่งและเครื่องดื่ม
  • มัลทิตอล (Maltitol) ให้ความหวานเท่ากับ 90-95% ของน้ำตาลทราย
    ให้พลังงานเท่ากับ 2.1 กิโลแคลอรี่/กรัม

    มักนำมาทำเบเกอรี่ แยม เครื่องดื่มพวกชา กาแฟ ต่าง ๆ

ข้อควรระวัง น้ำตาลแอลกอฮอล์บางประเภทเป็นสารที่ได้มากจากพืช ผัก ผลไม้ จึงสามารถแปรเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้

หุ่นสวย สุขภาพ

หญ้าหวาน (Stevia)

หญ้าหวาน

เป็นสารให้ความหวานที่สกัดมาจากใบจากต้นสตีเวียหรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ หญ้าหวาน 

ให้ความหวานประมาณ 300 เท่าของน้ำตาลทราย
ความหวานเหล่านี้ได้มาจากสารตัวหนึ่งที่อยู่ในหญ้าหวาน มีชื่อว่า สารสตีวิโอไซด์ มีความทนความร้อนและความเป็นกรด – ด่างได้ดี จึงเป็นที่นิยมทั้งนำมาประกอบอาหาร เครื่องดื่ม รวมทั้งเบเกอรี่

ส่วนใหญ่นำมาแปรรูปหรือทำเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อให้อยู่ได้นานและใช้ได้ง่าย เช่น นำใบมาอบแห้งหรือนำมาบด

หญ้าหวานตัวนี้จะไม่ถูกดูดซึมในระบบการย่อยอาหาร ให้พลังงานต่ำมาก  จึงเหมาะกับผู้เป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคหัวใจ

ข้อควรระวัง  หญ้าหวานแม้จะได้รับความนิยมมายาวนานแต่มีการวิจัยเกี่ยวกับหญ้าหวานว่าส่งผลต่อการกลายพันธุ์ในหนูทดลอง

แต่ว่าในปัจจุบันก็มีงานวิจัยที่หลากหลายมาหักล้างความเชื่อนั้น ดังนั้นอย่างไรก็ตามก็ต้องคอยอัพเดทผลการงานวิจัยต่อในอนาคต

บทความเกี่ยวกับ หญ้าหวาน

โทษที่อาจเกิดขึ้นจากสารให้ความหวานแทนน้ำตาล

สารให้ความหวานบางชนิดค่อนข้างยังใหม่ นั่นหมายความว่าอาจยังไม่มีการทดลอง ค้นคว้าวิจัย ถึงโทษที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอย่างชัดเจน ที่สำคัญ สารให้ความหวานเหล่านี้ หลายคนพอทราบว่าไม่ให้พลังงานก็รับประทานเข้าไปจนเกินปริมาณที่เหมาะสม อาจเกิดการก่อตัวของโรคหลายชนิด เช่น โรคมะเร็ง

สารให้ความหวานบางชนิดที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมได้ จะไปรวมกันอยู่ที่ลำไส้ใหญ่และส่งผลให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้

อีกทั้งการที่เรารับประทานสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ทำให้ร่างกายไม่ได้รับน้ำตาล สามารถส่งผลให้เรารู้สึกหิวมากกว่าเดิมและรับประทานมากขึ้นกว่าเดิมได้ ซึ่งนอกจากจะไมได้ลดความอ้วนแล้ว ยังอาจทำให้น้ำหนักของเราเพิ่มขึ้นได้

พี่ปินิกซ์สรุป สรุป

พี่ปินิกซ์อยากฝากเพื่อน ๆ ไว้เรื่องหนึ่งว่า ผู้ผลิตอาหาร เครื่องดื่ม หลายรายมักใช้คำโฆษณาว่า ปราศจากน้ำตาลหรือใช้คำว่า ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ซึ่งนั่นอาจไม่ได้หมายถึงมีแคลอรี่ = 0

เพราะสารให้ความหวานแต่ละชนิดก็ให้พลังงานแตกต่างกันออกไป เพียงแต่พลังงานที่น้อยกว่าน้ำตาลทรายค่อนข้างมาก

สารให้ความหวานแต่ละชนิดต่างมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ดังนั้นเป็ดฟินิกซ์จึงเชื่อว่า
การพยายามลดการทานหวานน่าจะเป็นหนทางดีต่อสุขภาพที่สุด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  (halalscience-pn.org)   Food Wiki

 

    เซลล์เป็ด

    ขอบคุณที่อ่านบทความของปีนิกส์นะคะ

    ปีนิกซ์มีสิทธิพิเศษมอบให้คุณด้วยค่ะ